หลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

ปรัชญา

มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจ มีคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลเป็นผู้นำในการสร้างนวัตกรรมการบริหารธุรกิจที่เกื้อกูลต่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ความสำคัญ

การบริหารธุรกิจเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการบริหารงานทั้งในภาคธุรกิจและภาครัฐ อันเนื่องมาจากสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงและความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยจึงให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถบูรณาการและสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านบริหารธุรกิจเพื่อใช้ในการบริหารภาคธุรกิจ ภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจในยุคปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารและการจัดการทางด้านธุรกิจ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตนักวิชาการ นักวิชาชีพ และนักบริหารที่มีองค์ความรู้และเชี่ยวชาญในสหวิทยาการของการบริหารธุรกิจ และการพัฒนานวัตกรรมเพื่อไปต่อยอดและพัฒนาธุรกิจ
  2. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการบริหารจัดการด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยขั้นสูงได้อย่างเหมาะสม
  3. เพื่อผลิตนักวิชาการ นักวิชาชีพ และนักบริหารที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในภาคธุรกิจและภาครัฐ
  4. เพื่อบูรณาการความรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติงาน (Practical Knowledge) และ ความรู้จากทฤษฎี (Theoretical Knowledge) มาสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการวิจัย(Research Methodology) ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเศรษฐกิจ สังคม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับปริญญามหาบัณฑิต จากสถาบันการศึกษาหรือสาขาวิชาที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ
  2. มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  3. ในกรณีนักศึกษาต่างชาติจะต้องเรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ และรายวิชาการเขียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ และสอบผ่านรายวิชาดังกล่าว
  4. มีคุณสมบัติข้ออื่น ๆ ตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ผู้บริหารระดับสูง หรือพนักงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารธุรกิจภาครัฐและเอกชน
  2. เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูงในองค์การระหว่างประเทศ องค์การอิสระ
  3. ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับผู้เชี่ยวชาญขึ้นไป
  4. อาจารย์ในมหาวิทยาลัย
  5. นักวิจัย นักวิชาการ นักวิชาชีพ ที่ปรึกษา ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือผู้ประกอบการที่คิดค้นและใช้นวัตกรรมทางด้านบริหารธุรกิจ