งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๔ และนานาชาติ ครั้งที่ ๑๔ ด้านศิลปะและวัฒนธรรม


  • งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๔ และนานาชาติ ครั้งที่ ๑๔ ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ภายใต้หัวข้อ “พลังศิลปวัฒนธรรมสรรค์สร้างเศรษฐกิจ” (the 4th National and the 14th International Conference on Arts and Culture: Soft Power- Arts and Culture in Creative Economy) เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ สถาบันอยุธยาศึกษา นำโดย อาจารย์ ดร.สุรินทร์ ศรีสังข์งาม ผู้อำนวยการสถาบันอยุธยาศึกษา พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๔ และนานาชาติ ครั้งที่ ๑๔ ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ภายใต้หัวข้อ “พลังศิลปวัฒนธรรมสรรค์สร้างเศรษฐกิจ” (the 4th National and the 14th International Conference on Arts and Culture: Soft Power- Arts and Culture in Creative Economy) ซึ่งจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๖๗ โดยมีเครือข่ายที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงและร่วมเป็นเจ้าภาพการจัดงานครั้งนี้ มีจำนวน ๑๕ หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานครั้งนี้ โดยได้รับเกียรติจาก คุณเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีเปิด และกล่าวแสดงปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “บทบาทของ อว. กับการขับเคลื่อน Soft Power” ซึ่งในครั้งนี้นิทรรศการผ้า "จุฬาพัสตร์" จากผืนผ้าสู่เครื่องแต่งกาย จากทุนทางวัฒนธรรม สู่ Soft Power อย่างยั่งยืน ของสถาบันอยุธยาศึกษา ได้รับความสนใจสอบถามถึงกระบวนการในพัฒนาผ้าของสถาบันฯ จากปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ และในช่วงบ่าย สถาบันอยุธยาศึกษา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิกานต์ ผลเจิรญ รองผู้อำนวยการ ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ ในรูปแบบปากเปล่า (Oral Presentation) ณ อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม (พุทธวิชชาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีระดับชาติและนานาชาติในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ บทความวิชาการ บทความวิจัย และผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมของนักวิชาการทุกกลุ่ม การเปิดโอกาสให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ ผลการวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของชาติ และภูมิปัญญาของท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและความสัมพันธ์โดยมีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) และการส่งเสริมงานในมิติการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม และ Soft Power ของไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ๆ สู่งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนิสิตหรือนักศึกษาในเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยและสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

Posted by : Web Master Ayutthaya Studies

ปรับปรุง : Feb 14, 2024



แฟ้มภาพกิจกรรม