หลักสูตรหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตรหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ปรัชญา

ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ในอนาคตต้องเป็นทั้งนักวิชาการและนักวิชาชีพชั้นสูงที่มีคุณธรรมและศักยภาพในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีขีดความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมทางการบริหารการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของทั้งสังคมท้องถิ่นและสังคมโลก

ความสำคัญ

หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มีความสำคัญ ดังนี้

2.1เป็นหลักสูตรที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาของท้องถิ่นและประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของศาสตร์พระราชาและภูมิพลังปัญญาของแผ่นดิน

2.2เป็นหลักสูตรที่จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของท้องถิ่นและประเทศ ผ่านการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาซึ่งเป็นผู้นำในการจัดการศึกษา โดยตำแหน่งให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการศึกษาและการแก้ปัญหาทางการศึกษาที่เกิดขึ้นโดยใช้องค์ความรู้ทางการบริหารการศึกษาขั้นสูงและใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน

2.3เป็นหลักสูตรที่มีส่วนร่วมสร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการจัดการศึกษาของท้องถิ่นและประเทศอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีคุณลักษณะของนักวิชาการและนักวิชาชีพชั้นสูงทางการบริหารการศึกษา ดังต่อไปนี้

3.1มีความเป็นผู้นำทางการศึกษาที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอันเป็นที่ยอมรับของสังคม

3.2มีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ศาสตร์ การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาสถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

3.3มีทักษะทางสติปัญญา และการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษา

3.4มีทักษะทางสังคม การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสื่อสารที่ทันสมัยในยุคดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการบริหารการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล

โครงสร้างหลักสูตรหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

จำนวนหน่วยกิตโดยรวมตลอดหลักสูตร แบบ 1.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และแบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า54 หน่วยกิต

  1. แบบ 1.1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ และมีการเรียนการสอนรายวิชาบังคับบางรายวิชาโดยไม่นับหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร จำนวน 48 หน่วยกิต

    1) รายวิชาบังคับเฉพาะสาขา (ไม่นับหน่วยกิต) ให้เรียน6หน่วยกิต
    2) รายวิชาวิทยานิพนธ์ ให้เรียน48หน่วยกิต
    3) รายวิชาเสริม (ไม่นับหน่วยกิต) ไม่น้อยกว่า14หน่วยกิต
    3.1) ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 1* 2หน่วยกิต
    3.2) ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 2* 2หน่วยกิต
    3.3) หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา ** 3หน่วยกิต
    3.4) วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา *** 3 หน่วยกิต
    3.5) ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ**** 2 หน่วยกิต
    3.6) ทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย**** 2 หน่วยกิต

  2. แบบ 2.1 เป็นแผนการศึกษาเน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์และ มีการเรียนการสอนรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต ดังนี้

    1) รายวิชาบังคับ
    1.1) บังคับเฉพาะสาขาให้เรียน12หน่วยกิต
    1.2) บังคับเฉพาะสาขา (ไม่นับหน่วยกิต)ให้เรียน3หน่วยกิต
    2) รายวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า6หน่วยกิต
    3) รายวิชาวิทยานิพนธ์ ให้เรียน 36หน่วยกิต
    4) รายวิชาเสริม (ไม่นับหน่วยกิต) ไม่น้อยกว่า10หน่วยกิต
    4.1) ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 1* 2หน่วยกิต
    4.2) ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 2* 2หน่วยกิต
    4.3) หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา ** 3หน่วยกิต
    4.4) วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา *** 3หน่วยกิต

หมายเหตุ
* รายวิชาสำหรับนักศึกษาทั้ง แบบ 1.1 และ 2.1 ที่ไม่มีผลคะแนนการทดสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษของ ARU Test, TOEIC, TOEFL ITP, TOEFL IBT, IELTS, CU-TEP, TU-GET อย่างใดอย่างหนึ่งตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือมีผลคะแนนการทดสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัย (ARU Test) ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยนักศึกษาจะต้องลงทะเบียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 1 และ 2 โดยมีผลการประเมินเป็น P

** รายวิชาสำหรับนักศึกษาทั้ง แบบ 1.1 และ 2.1 ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชาอื่นใดที่มิใช่สาขาวิชาการบริหารการศึกษา โดยนักศึกษาจะต้องลงทะเบียนรายวิชาหลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา โดยมีผลการประเมินเป็น P

*** รายวิชาสำหรับนักศึกษาทั้ง แบบ 1.1 และ 2.1 ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาโทในแบบที่ไม่มีการทำวิทยานิพนธ์ โดยนักศึกษาจะต้องลงทะเบียนรายวิชาวิธีวิทยาการวิจัยทาง การศึกษา โดยมีผลการประเมินเป็น P

**** นักศึกษาต่างประเทศ แบบ 1.1 ต้องลงทะเบียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ และรายวิชาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยมีผลการประเมินเป็น P

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น การผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงในการบริหารการศึกษา สามารถน้อมนำศาสตร์พระราชามาบูรณาการกับการบริหารการศึกษา และมีองค์ความรู้ในศาสตร์การบริหารการศึกษา ที่ทันยุคสมัย ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงไม่ขอรับรองหลักสูตรจากองค์กรวิชาชีพ (คุรุสภา) เพื่อการอนุมัติใบประกอบวิชาชีพการบริหารการศึกษา และใบประกอบวิชาชีพการบริหารสถานศึกษา สำหรับผู้สำเร็จการศึกษา ดังนั้นจึงกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาทั้งในหลักสูตรแบบ 1.1 และแบบ 2.1 ไว้ดังนี้

    1.1 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาในหลักสูตร แบบ 1.1 (เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว)

    1. สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับปริญญามหาบัณฑิต หรือสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต จากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง และมีผลการทดสอบตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

    2. มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาหรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง และมีผลงานทางวิชาการหรือผลงานวิจัยทางด้านการบริหารการศึกษาหรือ มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร)

    3. มีผลทดสอบภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย

    4. ในกรณีนักศึกษาต่างชาติจะต้องเรียนปรับพื้นฐานภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

    5. มีคุณสมบัติข้ออื่น ๆ ตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

    1.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาในหลักสูตร แบบ 2.1 (เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์และมีการเรียนการสอน)

    1. สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับปริญญามหาบัณฑิตจากสถาบันการศึกษา ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง และมีผลการทดสอบตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

    2. ในกรณีนักศึกษาต่างชาติจะต้องเรียนปรับพื้นฐานภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

    3. มีผลทดสอบภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย

    4. มีคุณสมบัติข้ออื่น ๆ ตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ผู้บริหารสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
  2. ผู้บริหารการศึกษาในหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับ
  3. บุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าแผนก
  4. นักวิชาการในสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับ

ดาวน์โหลด

แนะนำหลักสูตร

หน้าแรกหลักสูตร เนื้อหาหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร เอกสารดาวน์โหลด ติดต่อเรา

กิจกรรมหน่วยงานล่าสุด

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา