หมวดที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว
เกณฑ์การประเมิน
1. มีการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index (EUI)
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการบันทึกสถิติการใช้ปริมาณไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าในปี 2561-2563 มีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ลดลง
# |
พ.ศ. |
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริง (kWh/ปี) |
EUI |
1 |
2561 |
274,320 |
-0.62 |
2 |
2562 |
233,760 |
-0.56 |
3 |
2563 |
100,560 |
-0.48 |
เอกสารหลักฐาน
2. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง และร้อยละของปริมาณขยะที่นำมา Reuse,Recycle เพิ่มขึ้น
สำนักฯ ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการขยะ โดยดำเนินการจัดหา ถังขยะตามประเภทของขยะ ลดจำนวนถังขยะภายในอาคารและนอกอาคารให้น้อยลง กำหนดจุดทิ้งขยะรวมมี 1จุด อยู่ภายนอกอาคาร จัดทำกรงเหล็กสำหรับแยกขยะรีไซเคิล ภายในอาคารจัดให้มีถังขยะรีไซเคิลและขยะทั่วไป มีมาตรการไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการนำอาหารเข้ามารับประทานภายในอาคาร เพื่อลดปริมาณขยะ กำหนดจุดทิ้งเศษอาหาร บันทึกปริมาณการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2563 โดยกำหนดให้แม่บ้านที่รับผิดชอบดูแลแต่ละชั้น จัดเก็บเฉพาะชั้นนั้นๆ จัดเก็บเฉพาะขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไปทิ้งตามจุดที่มหาวิทยาลัยกำหนด
สำนักฯ มีการชั่งน้ำหนักเฉพาะขยะรีไซเคิลเพื่อส่งจำหน่าย
ในปี 2561 มีปริมาณขยะที่ส่งจำหน่าย จำนวน 412.75 กิโลกรัม
ในปี 2562 มีปริมาณขยะที่ส่งจำหน่าย จำนวน 1,967.40 กิโลกรัม นำกลับมาใช้ใหม่ 24.10 กิโลกรัม
ในปี 2563 มีปริมาณขยะที่ส่งจำหน่าย จำนวน 2,021 กิโลกรัม นำกลับมาใช้ใหม่ 105 กิโลกรัม ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นเนื่องด้วยสำนักฯ มีการบริจาคหนังสืออภินันทนาการ นิตยสาร ให้กับโรงเรียน ชุมชนในท้องถิ่น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และมีการจัดกิจกรรม 5ส อย่างต่อเนื่อง มีการนำหนังสือพิมพ์เก่าจำนวน 105 กิโลกรัม ประดิษฐ์เป็นกระถางต้นไม้
เอกสารหลักฐาน
3. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย
สำนักฯ มีมาตรการจัดการขยะ โดยการคัดแยกเศษอาหารจากการรับประทานอาหารของบุคลากร และนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักใช้ในสวนของห้องสมุด มีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากระบบบำบัดน้ำเสียของสำนักฯ ชำรุด ตั้งแต่ปี 2554 จากปัญหาอุทกภัย สำนักวิทยบริการได้จัดทำแผนเพื่อของบประมาณในการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่อง และได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการในปี 2563 ซึ่งอยู่ในช่วงดำเนินการ
ในปี 2563 จากมาตรการการจัดการเศษอาหารและการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำนักฯ มีการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสีย จากบ่อพักน้ำ 3 อาคาร ซึ่งได้ผล ดังนี้
# |
พารามิเตอร์/จุดเก็บตัวอย่าง |
อาคารบรรณราชนครินทร์(1) |
อาคารบรรณราชนครินทร์(2) |
อาคาร 100 ปี |
ค่ามาตรฐาน |
1 |
ค่าความเป็นด่าง |
6.33 |
6.31 |
6.43 |
5-9 |
2 |
บีโอดี BOD mg/l |
- |
2.5 |
2.85 |
ไม่เกิน 20 |
3 |
ปริมาณของแข็ง |
0.023 |
0.029 |
- |
ไม่เกิน 30 |
4 |
ค่าสารที่ละลายได้ทั้งหมด |
321 |
335 |
248.3 |
ไม่เกิน 500* |
5 |
ความขุ่น NTU |
32.8 |
64.9 |
37.7 |
- |
เอกสารหลักฐาน
4. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร จำนวนครั้งของการล้างระบบปรับอากาศต่อปี เป็นต้น
สำนักฯ มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ โดยมีมาตรการดำเนินการและตรวจสอบการทำความสะอาดพื้นที่บริการภายใน และห้องน้ำ กำหนดแนวทางการดำเนินงานกิจกรรม 5ส ในพื้นที่บริการโดยบุคลากรมีส่วนร่วมทุกคน มีการตรวจสอบสภาพและล้างเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ กำหนดให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่เพื่อไม่ให้เกิดมลพิษทางอากาศภายในอาคาร มีการทำความสะอาดชั้นหนังสือเพื่อกำจัดฝุ่น และรอบอาคารเพื่อกำจัดมูลนกพิราบอย่างสม่ำเสมอ มีการวิเคราะห์สภาพอากาศและมลพิษภายในอาคารบรรณราชนครินทร์และอาคารห้องสมุดหลังเดิม เนื่องจากทั้ง 2 อาคาร มีลักษณะเป็นอาคารปิด การถ่ายเทอากาศมีน้อย สำนักวิทยบริการมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด้านอาคาร สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกของสำนักฯ ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งในปี 2561 ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศเอื้อต่อการให้บริการ ระบบแสงสว่างและอุณหภูมิในอาคารเหมาะสม ห้องน้ำมีความสะอาด โดยรวมในระดับมาก คิดเป็น 4.01
ในปี 2562 ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศเอื้อต่อการให้บริการ ระบบแสงสว่างและอุณหภูมิในอาคารเหมาะสม ห้องน้ำมีความสะอาด โดยรวมในระดับมาก คิดเป็น 3.78
ในปี 2562 ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศเอื้อต่อการให้บริการ ระบบแสงสว่างและอุณหภูมิในอาคารเหมาะสม ห้องน้ำมีความสะอาด โดยรวมในระดับมาก คิดเป็น 4.32
เอกสารหลักฐาน
5. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่น ร้อยละของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นองค์กรต่อจำนวนผู้มารับบริการ เป็นต้น
สำนักฯ มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก จากปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำประปาและกระดาษ A4
# |
CFO(tCO2e) |
ไฟฟ้า |
ประปา/กระดาษA4 |
รวม |
1 |
2561 |
86.13 |
2.29 |
88 |
2 |
2562 |
71.04 |
2.05 |
73 |
3 |
2563 |
58.54 |
1.26 |
59 |
|
รวม |
215 |
5 |
220 |
เอกสารหลักฐาน
6. มีการประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านการทดสอบความรู้ หรือ ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านการทดสอบความรู้ เป็นต้น
สำนักวิทยบริการ ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
1) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จัดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักฯ อบรมเชิงปฏิบัติการ “เกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว Green Library” ซึ่งในการอบรมครั้งนี้ทำให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว และสร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวและการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการจัดโครงการด้วยแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม ผลการประเมิน พบว่า ก่อนอบรมบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุด สีเขียวอยู่ในระต้องปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 42.5 หลังจากการอบบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 60.47
2) ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 สำนักฯ ได้จัดอบรม เรื่องโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อบรมเชิงปฏิบัติการ ระบบดับเพลิงและการอพยพหนีไฟ วันอังคารที่18 มิถุนายน 2562 ณ ห้องประชุมต้นโมก ผลการประเมิน พบว่า ก่อนอบรมบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบดับเพลิงและการอพยพหนีไฟอยู่ในระดับต้องปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 42.50 หลังจากการอบบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 73.59
3) วันที่25 ธันวาคม 2563 ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“แนวทางการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม” ซึ่งบุคลากรทั้งสำนักฯ ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในการอนุรักษ์พลังงาน สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติงานและใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผลสัมฤทธิ์ของการจัดโครงการด้วยแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม ซึ่งผลการประเมินก่อนการอบรม พบว่า บุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับต้องปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 51 เมื่อได้รับการอบรมบุคลากรได้รับความรู้และได้แนวปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 76
ในส่วนของผู้ใช้บริการ สำนักฯ ได้มีการประเมินผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีกิจกรรม ดังนี้
1) วันที่ 9 สิงหาคม 2561 จัดอบรมการสืบค้นข้อมูลออนไลน์
พบว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการใช้บริการและการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวด้อมระดับดี คิดเป็นร้อยละ 59 และหลังอบรมพบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 80
2) วันที่ 23 เมษายน 2562 จัดอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์
พบว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการใช้บริการและการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวด้อมระดับดี คิดเป็นร้อยละ63 และหลังอบรมพบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 82
3) วันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2562 จัดอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์
พบว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการใช้บริการและการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวด้อมระดับดี คิดเป็นร้อยละ 72 และหลังอบรมพบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 84
4) วันที่ 25,27-28 สิงหาคม 2563 จัดอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์
25 สิงหาคม 2563
พบว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการใช้บริการและการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวด้อมระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 57 และหลังอบรมพบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 80
27 สิงหาคม 2563
พบว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการใช้บริการและการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวด้อมระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 55และหลังอบรมพบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 70
28 สิงหาคม 2563
พบว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการใช้บริการและการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวด้อมระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 52 และหลังอบรมพบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 63
วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2563 จัดอบรม “กิจกรรมการเรียนรู้สารสนเทศ”
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้แก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พบว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการใช้บริการและการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวด้อมระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 48 และหลังอบรมพบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 64
สำนักฯมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกต้อง ให้แก่นักเรียนโรงเรียนที่เป็นภาคีเครือข่ายและโรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง
เอกสารหลักฐาน