ความเป็นมา

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นหน่วยราชการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ที่มีการพัฒนาจากคณะวิชาวิทยาการจัดการ วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2527 โดยจัดสอนกลุ่มวิชาด้านบริหารธุรกิจและการจัดการให้กับคณะต่างๆ ที่เลือกเรียนวิชาพื้นฐานหลักๆ ที่สำคัญ เช่น วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาการสหกรณ์ วิชาการตลาด วิชาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ปีต่อมาเริ่มเปิดสอนหลักสูตรในคณะวิชาวิทยาการจัดการของตนเองในระดับอนุปริญญา เช่น วิชาเอกการจัดการทั่วไป วิชาเอก บริหารธุรกิจ และเริ่มรับอาจารย์เพิ่มขึ้นตามจำนวนนักศึกษาที่มากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งรับโอนอาจารย์ในวุฒิที่ตรงกับสาขาวิชาที่เปิดสอน ในปี พ.ศ.2538 วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538 คณะวิชาวิทยาการจัดการเปิดสอนหลากหลายสาขามากขึ้น ทั้งระดับปริญญาตรี และอนุปริญญา ต่อมาปี พ.ศ.2547 สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และคณะวิชาวิทยาการจัดการ ปรับเป็นคณะวิทยาการจัดการ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ปัจจุบันคณะวิทยาการจัดการ มีการจัดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญตามศาสตร์ มีห้องปฏิบัติการที่มีอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการ สอนเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตทุกหลักสูตร และมีสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

ทำเนียบผู้บริหาร

1. อาจารย์พิสูจน์ สมบูรณ์ รักษาการหัวหน้าคณะวิชา
2. ผศ.ดวงจิตต์ กลำพากร หัวหน้าคณะวิชา
3. ผศ.ประกายศรี ศรีรุ่งเรือง หัวหน้าคณะวิชา
4. อาจารย์สมพร จิรามริทธิ์ หัวหน้าคณะวิชา
5. ผศ.ประทุม จันพินิจ หัวหน้าคณะวิชา
6. รศ.วันทนีย์ แสนภักดี หัวหน้าคณะวิชา
7. ผศ.ดร.ไพโรจน์ อุลิต หัวหน้าคณะวิชา
8. อาจารย์สุชิน หงส์วิจิตร คณบดี
9. ผศ.ธิดา พาหอม คณบดี
10. รศ.อภินันท์ จันตะนี คณบดี
11. ดร.ศานติ เล็กมณี คณบดี
12. รศ.ลำยอง ปลั่งกลาง คณบดี
13. ดร.ศานติ เล็กมณี คณบดี
14. รศ.ดร.อัจฉรา หล่อตระกูล คณบดี
15. อาจารย์ประพันธ์ แสงทองดี คณบดี
16. ดร.สมเกียรติ แดงเจริญ คณบดี

ปรัชญา

วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม นำการบริหาร สู่การพัฒนาท้องถิ่น

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตนักบริหารมืออาชีพ สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อพัฒนาสังคมและท้องถิ่น

พันธกิจ

1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญ มีคุณธรรม เพื่อเป็นนักบริหารมืออาชีพสู่สังคมและท้องถิ่น 
	  2. พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
  	  3. พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ธุรกิจจำลองและเศรษฐกิจพอเพียงให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ โดยการปฏิบัติจริงและเรียนรู้กับหน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่ดำเนินงานตรงกับหลักสูตรในคณะและหน่วยงาน ภายนอก เพื่อ
พัฒนาชุมชนและท้องถิ่น สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อพัฒนาสังคมและท้องถิ่น
	  4. บูรณาการการจัดการเรียนการสอน พัฒนางานวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมตอบสนองความต้องการของสังคมและท้องถิ่น
	  

เอกลักษณ์

แหล่งเรียนรู้นวัตกรรมทางธุรกิจ เพื่อสังคมและท้องถิ่น

อัตลักษณ์

หล่อหลอมการพัฒนากำลังคนด้วยภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า สืบสาน รักษาศิลปวัฒนธรรมแห่งเมืองมรดกโลก