เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office)

หมวด/ตัวชี้วัด หลักฐานการประเมิน
หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย
4.1 การจัดการของเสีย
4.1.1 มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสม มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
(1) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
(2) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ
(3) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละประเภทจากข้อ (1) อย่างเพียงพอ
(4) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
(5) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
(6) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม)
(7) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)
4.1.1.1 แนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ.2564
4.1.1.2 ป้ายบ่งชี้ประเภทขยะ
4.1.1.4 สัญญาว่าจ้างการจัดการขยะระหว่างมหาวิทยาลัย ให้ อปท.
4.1.1.5 การจัดการขยะอันตรายมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
4.1.1.6 หนังสือขอความอนุเคราะห์ทิ้งขยะติดเชื้อ
4.1.2 การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
(1) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
(2) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือน
(3) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1 ข้อ 1.1.5
(4) ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลง
4.1.2.1 บันทึกปริมาณการจัดการขยะประจำปี 2564
สถิติบันทึกรายการคัดแยกขยะ https://www.aru.ac.th/greenoffice/?page=g5
4.1.2.2 กิจกรรม DIY การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมและโครงการต่างๆ
4.2 การจัดการน้ำเสีย
4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้
(1) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
(2) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับองค์ประกอบของน้ำเสีย
(3) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
(4) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
4.2.1.1 เอกสารการขออนุมัติงบประมาณการติดตั้งระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย อาคารบรรณราชนครินทร์
4.2.1.2 ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง ปี พ.ศ. 2563
4.2.1.3 เส้นทางการจัดการน้ำเสียเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
4.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทางดังนี้
(1) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหาร และไขมันออกจากตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมัน ตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน
(2) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้าเสีย หรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดักไขมันไปกาจัดอย่างถูกต้อง
(3) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
(4) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ
4.2.2.1 แนวทางการดูแลและจัดการถังดักไขมันประจำอาคาร
4.2.2.2 การตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสีย