วารสารราชภัฏกรุงเก่า สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

1. คำแนะนำในการส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์

บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น หากมีเนื้อหา ข้อมูลวิจัยบางส่วนเคยพิมพ์ในรายงานการประชุมวิชาการจะต้องมีส่วนที่เพิ่มเติมหรือขยายจากส่วนที่เคยตีพิมพ์และต้องมีคุณค่าทางวิชาการที่เด่นชัด โดยได้รับการกลั่นกลองจากผู้ทรงคุณวุฒิ และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ

2. บทความที่รับพิจารณาลงพิมพ์

2.1 บทความวิจัย มีความยาวไม่เกิน 8 หน้ากระดาษ B5 ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน (Title) สถานที่ทำงาน (Work place of author & co-authors) การติดต่อผู้เขียน (Contact address of correspondence) บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ (Keywords ไม่เกิน 3-5 คำ) โดยเนื้อหาดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นต้องมีทั้งภาษา ไทยและภาษาอังกฤษ ตามด้วยเนื้อเรื่อง กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก (ถ้ามี) เนื้อเรื่องจะประกอบด้วย บทนำ (Introduction), ขอบเขตการวิจัย/วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการวิจัย/ทดลอง (Materials and Methods), ผลการวิจัย/ทดลอง (Results), วิจารณ์ อภิปรายผล (Discussion) บทสรุป (Conclusion) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement, ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง (References)
2.2 บทความวิชาการ มีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 หน้ากระดาษ แต่ไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ B5 เป็นบทความที่รวบรวมหรือเรียบเรียงจากหนังสือ เอกสาร ประสบการณ์หรือเรื่องแปลเพื่อเผยแพร่ความรู้ในสาขาต่างๆ หรือแสดงข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มีคุณค่าทางวิชาการ บทความวิชาการควรประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน สถานที่ทำงาน วิธีการการติดต่อผู้เขียน บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ (Keywords ไม่เกิน 5 คำ) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษตามด้วยเนื้อเรื่อง ซึ่งลักษณะองค์ประกอบของเนื้อเรื่องอาจจะคล้ายคลึงกับบทความวิจัย แต่ไม่มีเนื้อหาของ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการทดลอง ผลการวิจัยหรือผลการทดลอง เป็นต้น

3. การส่งต้นฉบับ

ผู้เขียนต้องส่งต้นฉบับบทความวิจัย/บทความวิชาการ ผ่านอีเมลล์คุณปวีณา มะลิซ้อน ทาง e-mailaddress : nafeesah_47@hotmail.com

4. รูปแบบบทความวิจัยและการพิมพ์เนื้อหาของเรื่อง

เพื่อความสะดวกในการแก้ไข ควรใช้โปรแกรม Microsoft Word for windows พิมพ์บนกระดาษ B5 โดยตั้งหน้ากระดาษดังนี้ ขอบกระดาษด้านบน-ล่าง 1.5 ซม. ขอบกระดาษด้านซ้ายและขวา 1.5 ซม. พิมพ์ 2 คอลัมน์ กว้าง 7.25 ซม. ระยะห่าง 0.7 ซม.ระยะหัวกระดาษ และ ท้ายกระดาษ 1.5 ซม.
4.1 รูปแบบและขนาดอักษร ตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSKสีดำเท่านั้น
4.2 หน้าแรก หน้าแรกของบทความจะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนและผู้เขียนร่วม บทคัดย่อ และเชิงอรรถบ่งบอกตำแหน่งและสถานที่ทำงานของผู้เขียนและผู้เขียนร่วม ให้พิมพ์หน้าแรกทั้งแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษเรียงตามลำดับ โดยจัดหน้าเป็นแบบ 1 คอลัมน์ กว้าง 15.2 ซม.
4.3 ชื่อเรื่อง พิมพ์อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ เริ่มจากชื่อภาษาไทยแล้วตามด้วยชื่อภาษาอังกฤษ
4.4 ชื่อผู้เขียน พิมพ์อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ ไว้หลังชื่อเรื่อง และเว้น 1 บรรทัด ทั้งด้านบนและใต้ชื่อผู้เขียน ถ้ามีมากกว่า 1 คนให้พิมพ์คำว่า “และ” หน้าชื่อคนสุดท้าย ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อใดๆ ทั้งสิ้น และให้ใช้ตัวเลขอารบิคพิมพ์แบบตัวยกต่อท้ายชื่อ เพื่อแสดงความแตกต่างของสถานที่ทำงานดังตัวอย่างประกอบหน้าแรก
4.5 บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์หัวเรื่องคำว่า “บทคัดย่อ” สำหรับบทคัดย่อภาษาไทย และ “Abstract” สำหรับบทคัดย่อภาษา-อังกฤษ โดยจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ สำหรับคำว่า “Abstract” เฉพาะตัวอักษร “A” เท่านั้นที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเนื้อความให้จัดพิมพ์เป็นแบบ 1 คอลัมน์ โดยบรรทัดแรกให้ย่อหน้า 1.5 ซม. และมีอย่างละย่อหน้าเดียว ทั้งนี้บทคัดย่อไม่ควรใส่เอกสารอิงอิงใดๆทั้งสิ้น และมีจำนวนคำไม่เกินอย่างละ 300 คำ
4.6 คำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทยและภาษา-อังกฤษ พิมพ์หัวเรื่องคำว่า “คำสำคัญ” โดยพิมพ์ไว้ใต้บทคัดย่อภาษาไทย เว้น 1 บรรทัด และจัดชิดซ้ายของคอลัมน์ คำสำคัญในแต่ละบทความควรจะมีประมาณ 3-5 คำ ให้พิมพ์หัวเรื่องคำว่า “Keywords” (เฉพาะตัวอักษร “K” เท่านั้นที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่) โดยพิมพ์ไว้ใต้ บทคัดย่อภาษาอังกฤษ เว้น 1 บรรทัด ให้ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรกของคำแรกของแต่ละคำสำคัญเท่านั้น
4.7 ตำแหน่ง และสถานที่ทำงาน ให้พิมพ์สถานที่ทำงานของผู้เขียนทุกคน โดยเรียงตามหมายเลข และ Email address ต่อจากชื่อผู้เขียน

5. ส่วนอื่นๆ ของบทความ

เนื้อเรื่อง ได้แก่ บทนำ ขอบเขตการวิจัย วัสดุ-อุปกรณ์และวิธีการวิจัย/ทดลอง (ถ้ามี) ผลการวิจัย/ทดลอง วิจารณ์/อภิปรายผล บทสรุป กิตติกรรม-ประกาศ (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง และภาคผนวก (ถ้ามี) ให้พิมพ์เป็น 2 คอลัมน์ โดยไม่ต้องเว้นบรรทัด เมื่อจะขึ้นหัวข้อใหม่ให้เว้น 1 บรรทัด การพิมพ์หัวข้อให้พิมพ์ชิดซ้ายของแต่ละคอลัมน์ ส่วนของเนื้อเรื่องให้ย่อหน้า 0.5 ซม. การลำดับหัวข้อในเนื้อเรื่อง ให้ใส่เลขกำกับ โดยให้บทนำเป็นหัวข้อหมายเลขที่ “1.” และหากมีการแบ่งหัวข้อย่อย ก็ให้ใช้ระบบเลขทศนิยมกำกับหัวข้อย่อย เช่น 1.1, 1.1.1, 1.2, 1.2.1 เป็นต้น

6. การจัดรูปภาพ ตาราง และการเขียนสมการ

เนื้อหาและข้อมูลภายในรูปภาพและตารางให้ใช้ภาษาอังกฤษ รูปภาพทุกรูปและตารางจะต้องมีหมายเลข และคำบรรยายอย่างชัดเจน
6.1 รูปภาพ รูปภาพที่เตรียมควรมีขนาดความกว้างไม่เกิน 15 ซม. และความละเอียดที่เหมาะสม โดยตัวอักษรที่ปรากฏในรูปภาพจะต้องมีขนาดใหญ่สามารถอ่านได้สะดวก และต้องไม่เล็กกว่าตัวอักษรในเนื้อเรื่อง และเมื่อย่อขนาดลงที่ความกว้าง 7 ซม. จะต้องยังสามารถเห็นรายละเอียดของภาพที่ชัดเจน ให้วางภาพข้อมูลทั้งหมดไว้ท้ายบทความถัดจากข้อมูลตาราง โดยทุกรูปภาพที่ใส่ไว้ท้ายบทความจะต้องมีการกล่าวอ้างในเนื้อบทความทุกรูปภาพ และรูปภาพทั้งหมดควรมองเห็นชัดเจนเมื่อบทความถูกพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ การเขียนคำบรรยายใต้ภาพ ให้ใช้ TH SarabunPSKขนาด 14 โดยพิมพ์ตัวหนาสำหรับหัวเรื่องและหมายเลขของรูป และตัวพิมพ์ธรรมดาสำหรับคำอธิบายรูปภาพจัดพิมพ์ไว้กึ่งกลางคอลัมน์ รูปลายเส้นของรูปภาพจะต้องเป็นเส้นสีดำ ส่วนรูปถ่ายควรจะเป็นรูปขาวดำที่มีความคมชัดรูปภาพควรจะมีรายละเอียดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และ เพื่อความสวยงามให้เว้นบรรทัดเหนือรูปภาพ 1 บรรทัด และเว้นใต้คำบรรยายรูปภาพ 1 บรรทัด
6.2 ตาราง ตารางทุกตารางจะต้องมีหมายเลข และคำบรรยายกำกับเหนือตาราง โดยปกติให้ใช้ตัวอักษร THSarabunPSKขนาด 14ptโดยพิมพ์ตัวหนาสำหรับหัวเรื่องและหมายเลขของตาราง และตัวพิมพ์ธรรมดาสำหรับคำอธิบายตาราง ถ้ามีข้อมูลฟุตโน็ตด้านล่างของตารางให้ใช้ตัวหนังสือเป็นแบบเดียวกันหากแต่ขนาดตัวอักษรเป็น 12ptให้จัดพิมพ์ชิดซ้ายของคอลัมน์ เพื่อความสวยงาม ให้เว้นบรรทัดเหนือคำบรรยายตาราง 1 บรรทัด และเว้นบรรทัดใต้ตาราง 1 บรรทัด ในกรณีที่จำนวนข้อมูลในตารางมีปริมาณน้อย ตารางควรมีขนาดความกว้างไม่เกิน 7 ซม. ตารางขนาดใหญ่อาจยอมให้มีความกว้างได้ไม่เกินขนาด 15×19 ซม. ในแนวตั้ง หรือขนาด 19×15 ซม. ในแนวนอน ให้ใส่ตารางทั้งหมดไว้หลังหัวข้อรูปภาพ โดยทุกตารางที่ใส่ไว้ท้ายบทความจะต้องมีการกล่าวอ้างในเนื้อบทความทุกตาราง และให้วางภาพข้อมูลทั้งหมดไว้ท้ายบทความ หลังจากหัวข้อ “เอกสารอ้างอิง”
6.3 สมการ ต้องพิมพ์อยู่กึ่งกลางคอลัมน์ หรือในกรณีที่สมการมีความยาวมากอาจยอมให้มีความกว้างได้เต็มหน้ากระดาษ และจะต้องมีหมายเลขกำกับอยู่ภายในวงเล็บ ตำแหน่งของหมายเลขสมการจะต้องอยู่ชิดขอบด้านขวาของคอลัมน์

7. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

การเขียนหน่วยต่างๆ ควรใช้ระบบ SI และเป็นสากล ถ้าหากต้องการย่อหน่วย ควรใช้ตัวย่อเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้องและเป็นสากล การใช้ศัพท์วิทยาศาสตร์ให้ยึดคำบัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน ชื่อสถานที่ต่างๆ ให้ใช้ตามประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรีการเขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ หากต้องการทับศัพท์เป็นภาษาไทย หรือต้องการแปลเป็นภาษาไทย การแปลหรือเขียนทับศัพท์ครั้งแรกควรใส่คำศัพท์เดิมไว้ในวงเล็บต่อท้ายคำแปลด้วย ซึ่งถ้าคำศัพท์ใดที่ไม่ใช่คำศัพท์เฉพาะ ก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่เช่น “เวเบอร์ (weber)” และเมื่อต้องการใช้คำแปลเดิมซ้ำอีก ให้ใช้ภาษาไทยโดยไม่ต้องใส่ภาษาอังกฤษกำกับ

8. เอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงในบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ระบบนาม-ปี เป็นภาษาอังกฤษ ตามรูปแบบของ APA (American Psychological Association) การอ้างอิงเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กรณีผู้เขียนคนเดียว ใช้นามสกุลผู้แต่งและปี ค.ศ. เช่น(Sookdee, 2017) กรณีผู้เขียนสองคน ใช้ (Sookdeeand Sooksan, 2017) กรณีผู้เขียนมากกว่าสองคน ใช้ “et al.” ต่อจากนามสกุลผู้แต่งคนแรก เช่น (Sookdeeet al., 2017)กรณีอ้างอิงจากหลายแหล่งอ้างอิงใช้ “ ; ” คั่นระหว่างแหล่งอ้างอิงเช่น (Sookdee, 2015; SookdeeandSooksan,2016; Sookdeeet al., 2017)
เอกสารอ้างอิงให้พิมพ์ตามลําดับตัวอักษรชิดขอบซ้ายและให้ตรงกันทุกเอกสาร หากเอกสารอ้างอิงมีความยาวเกินหนึ่งบรรทัด บรรทัดถัดไปให้เยื้องเข้ามา1.27 ซม. ตัวอย่างรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงมีดังนี้
วารสาร(journal)
ผู้แต่ง. (ปี ). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปี ที่(ฉบับที่), เลขหน้า.doiหรือ URL ของ doi (ถ้ามี)โดยชื่อวารสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ใช้ชื่อเต็ม
ตัวอย่าง
Smile, A. A., Smell, B. B. and Small, C. C. (2016).Effect of UV-D on some elements under the sea.
The Journal of Applied Science,12(4), 1-12. http://dx.doi.org/1234/2016/001
Sookdee, A., Sooksan, B. andSooksom, C. (2017).Chemical analysis for plant cells.Current Topic
Journal, 56(3), 21-36.doi: 1234/j.curr.2014.01.001 (in Thai)
กรณีผู้เขียนมากกว่า 6 คน ให้ใช้ “et al.” ต่อจากชื่อผู้แต่งคนที่ 6ยกเว้นถ้ามีผู้แต่ง 6 คน ให้เขียนชื่อผู้แต่งทั้ง 6 คนในกรณีที่เป็นวารสารแบบ Open Access ซึ่งไม่มีปี ที่ ฉบับที่และเลขหน้า มีรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงคือผู้แต่ง. (ปี ) ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, เลขบทความ,จํานวนหน้า. Doiหรือ URL ของ doi (แต่ถ้ามี ปีที่ ฉบับที่ให้ใส่มาด้วย)
หนังสือ(book)
ผู้แต่ง. (ปี ). ชื่อหนังสือ(ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์.
ตัวอย่าง
Smile, A. A., Smell, B. B. and Small, C. C. (2016). Flowering and Non-flowering Plants (2nded.).
Bangkok, Thailand: ABAB Publisher.
กรณีผู้เขียนมากกว่า 6คน ให้ใช้ “et al.” ต่อจากชื่อผู้แต่งคนที่ 6ยกเว้นถ้ามีผู้แต่ง 6 คน ให้เขียนชื่อผู้แต่งทั้ง 6 คน
บทในหนังสือ(book chapter)
ผู้แต่ง. (ปี ). ชื่อเรื่อง. ใน ชื่อบรรณาธิการ(บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ครั้งที่พิมพ์) เลขหน้า. สถานที่พิมพ์:สํานักพิมพ์.
ตัวอย่าง
Smile, A. A., Smell, B. B. and Small, C. C. (2016).Chemical analysis for plant cells. In D. D. Smart and E. E. Smooth (Eds.), Flowering and
Non-flowering Plants (2nd ed.)pp. 39-72. Bangkok, Thailand: ABAB Publisher.
กรณีผู้เขียน 6 คน หรือมากกว่า6คน ให้ยึดแนวทางตามแบบที่กล่าวไว้ในหนังสือ
เอกสารจากงานประชุม (proceedings)
ผู้แต่ง. (ปี ). ชื่อเรื่อง. เลขหน้า. ใน ชื่องานประชุม, วัน เดือน ปี ที่จัดการประชุม, สถานที่จัดการประชุม.
ตัวอย่าง
Smile, A. A., Smell, B. B. and Small, C. C. (2016).Chemical analysis for plant cells.pp. 39-72. In The 1st Applied Science Conference,
1-7 August 2014, Faculty of Applied Science, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, Bangkok.
วิทยานิพนธ์(thesis)
ผู้แต่ง. (ปี ). ชื่อวิทยานิพนธ์(ระดับปริญญา) สาขาวิชาหรือภาควิชา, คณะ, มหาวิทยาลัย, สถานที่.
ตัวอย่าง
ookdee, A. (2017). Chemical analysis for plant cells (Ph.D. thesis) Department of Applied Biology,
Faculty of Applied Science, King Mongkut’s University of
Technology North Bangkok, Bangkok. (in Thai)
เว็บไซต์(website)
ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง.วัน เดือน ปี ที่สืบค้น, ที่มา ชื่อ URL
ตัวอย่าง
Smile, A. A., Smell, B. B. and Small, C. C. (2016).Chemical analysis for plant cells. Retrieved January 1, 2015, from
http://www.journal.sci.kmutnb.ac.th