ความเป็นมาของสหกิจศึกษา

สหกิจศึกษา (Cooperative Education) เป็นระบบการศึกษาเริ่มต้นพัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา โดยในช่วงปี พ.ศ. 2446-2452 เรียกว่า ระบบการศึกษาแบบสหกิจศึกษา(Cooperative Education) สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา

ระบบนี้ก้าวหน้ามากเนื่องจากได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาลและความร่วมมือจากสถานประกอบการ ปัจจุบันนี้สถาบันการศึกษาทั่วโลกจำนวนร้อยละ 33 นำระบบสหกิจศึกษามาใช้และพัฒนาไปจนถึงระดับที่มีการแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานในระดับนานาชาติสหกิจศึกษาได้แผ่ขยายสู่ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสถานศึกษาได้นำสหกิจศึกษาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบโดยเฉพาะสถานศึกษาที่อยู่ในเครือข่ายของอังกฤษซึ่งมีการจัดรูปแบบการศึกษาแบบประเทศในแถบตะวันตก เช่น มหาวิทยาลัยฮ่องกงโปลีเทคนิค (Hong Kong Polytechnic University) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานยาง (Nanyang Technological University) ประเทศสิงคโปร์ ต่อมาสหกิจศึกษาได้แพร่ขยายสู่ประเทศจีนและประเทศไทย

โดยสำหรับประเทศไทยนั้น ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นบุคคลแรกที่นำสหกิจศึกษาเข้ามาใช้ในประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยท่านนิยามคำว่า “สหกิจศึกษา” หมายถึง “การศึกษาที่ทำร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กรผู้ใช้บัณฑิตเพื่อให้เกิดการศึกษาที่ดี”

สหกิจศึกษาคืออะไร

ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดแรงงานค่อนข้างสูง สถานประกอบการต้องการบัณฑิตที่มีคุณภาพมีความสามารถในการจัดการและการวางแผนการแก้ไขปัญหาการสื่อสารในการทำงาน การทำงานเป็นทีม และการคิดสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต จึงได้นำสหกิจศึกษามาเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี และมีการพัฒนาระบบสหกิจศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษาได้มีการพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาการและทักษะวิชาชีพ โดยกำหนดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา ด้วยกระบวนการของสหกิจศึกษา โดยมุ่งหวังให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ รู้จริง ทำงานได้จริง ปรับตัวได้ดี และมีความพร้อมในการปฏิบัติงานได้ทันที สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการในปัจจุบัน ดังนั้นนักศึกษาสหกิจศึกษาจึงเปรียบเสมือนผู้แทนของมหาวิทยาลัยที่สะท้อนให้เห็นคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย การตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมด้านการประกอบอาชีพ (Career Development) และการเข้าสู่ระบบการทำงานของบัณฑิต (Employability) ก่อนสำเร็จการศึกษา การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามความต้องการของตลาดแรงงานหรือสถานประกอบการ จึงเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ความหมายของสหกิจศึกษา

สหกิจศึกษา (Cooperative Education) เป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการเรียนการสอนในสถานศึกษาสลับกับการไปหาประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการอย่างมีระบบ ด้วยความร่วมมือจากสถานประกอบการและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นระบบการศึกษาที่ผสมผสานการเรียนกับการปฏิบัติงาน (Work Integrated Learning)

การจัดการเรียนการสอนรูปแบบสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาได้นำสหกิจศึกษามาเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี เพื่อให้นักศึกษาได้มีการพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาการและทักษะวิชาชีพ โดยกำหนดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา ด้วยกระบวนการของสหกิจศึกษา โดยมุ่งหวังให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ รู้จริง ทำงานได้จริง ปรับตัวได้ดี และมีความพร้อมในการปฏิบัติงานได้ทันที สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการในปัจจุบัน ดังนั้นนักศึกษาสหกิจศึกษาจึงเปรียบเสมือนผู้แทนของมหาวิทยาลัยที่สะท้อนให้เห็นคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย การตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมด้านการประกอบอาชีพ (Career Development) และการเข้าสู่ระบบการทำงานของบัณฑิต (Employability) ก่อนสำเร็จการศึกษา การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามความต้องการของตลาดแรงงานหรือสถานประกอบการ จึงเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา