การจัดการความรู้ (KM) ประจำปี ๒๕๖๕ ของสถาบันอยุธยาศึกษา
เรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล กรณีศึกษา การยกระดับผลิตภัณฑ์ปลาตะเพียนใบลานอยุธยา

...

สถาบันอยุธยาศึกษา ได้ดำเนินการถอดองค์ความรู้ เกี่ยวกับวิธีการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งองค์ความรู้และวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมและถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถาบันอยุธยาศึกษา ผ่านการจัดการความรู้ (KM) ประจำปี ๒๕๖๕ เรื่อง “กลยุทธ์การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล กรณีศึกษา การยกระดับผลิตภัณฑ์ปลาตะเพียนใบลานอยุธยา” และสามารถกลั่นกรองความรู้ออกมาเป็น เอกสารเผยแพร่ความรู้ “การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เครื่องแขวนปลาตะเพียนใบลาน” และสื่อนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการสานปลาตะเพียนใบลาน อันเป็นผลผลิตที่เกิดจากการจัดการความรู้ในครั้งนี้

การจัดการความรู้ (KM) ประจำปี ๒๕๖๔ ของสถาบันอยุธยาศึกษา
เรื่อง เทคนิคการให้บริการความรู้ ณ แหล่งเรียนรู้ภูมิวัฒนธรรมอยุธยา

...

สถาบันอยุธยาศึกษา เป็นหน่วยงานในสังกัดของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่ดำเนินงานด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริม เผยแพร่และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย โดยจัดบรรยากาศภายในเรือนไทยของสถาบันอยุธยาศึกษา รวมไปถึงบริเวณโดยรอบ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิวัฒนธรรมอยุธยา ประกอบด้วย หอกลาง เรือนนอน เรือนครู และเรือนช่าง ที่มุ่งเน้นให้ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ไปพร้อมกับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการเยี่ยมชม ที่มีการออกแบบการเล่าเรื่อง (Narrative Design) โดยให้นักท่องเที่ยว สามารถสัมผัส จับต้อง และถ่ายรูปคู่กับสื่อการเรียนรู้ ที่จำลองบรรยากาศเสมือนจริง ภายในเรือนจัดแสดงหลังต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม

ดังนั้น เพื่อให้การบริการ เป็นไปอย่างมีระบบ ผู้ปฏิบัติงานของสถาบันอยุธยาศึกษา จึงจำเป็นต้องจัดการความรู้ เกี่ยวกับเทคนิคการให้บริการและนำชมภายในแหล่งเรียนรู้ ให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดี เช่น เทคนิคการต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม เทคนิคการบรรยายภายในเรือนแต่ละหลัง การเสริมทักษะด้านเทคนิคในความรู้ ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดเนื้อหาสาระ และประเด็นที่เหมาะสมในการบรรยาย แนะนำแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาความรู้ ดังที่ได้รวบรวม และกลั่นกรองข้อมูล ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ (KM) จนเป็นแนวปฏิบัติที่ดี อยู่ในคู่มือเทคนิคการนำชม แหล่งเรียนรู้ภูมิวัฒนธรรมอยุธยาเล่มนี้

การจัดการความรู้ (KM) ประจำปี ๒๕๖๓ ของสถาบันอยุธยาศึกษา
เรื่อง เทคนิคการนำชมเส้นทางสังคมพหุวัฒนธรรมในนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

...

สถาบันอยุธยาศึกษา ได้จัดการความรู้ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๓ เรื่อง "เทคนิคการนำชมเส้นทางสังคมพหุวัฒนธรรมในนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา" เพื่อแสวงหาวิธีและแนวทางในการนำชมโบราณสถานต่าง ๆ ในเส้นทางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชนที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลายของอยุธยา

คณะกรรมการจัดการความรู้ของสถาบันอยุธยาศึกษา ดำเนินงานโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM) ทั้ง ๗ กระบวนการ เป็นเครื่องมือสำคัญในแสวงหาและแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ของบุคลากรภายในสถาบันฯ จนสามารถผลิต "คู่มือเทคนิคการนำชมเส้นทางสังคมพหุวัฒนธรรมในนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา" และได้มีการเผยแพร่แก่นักศึกษาในคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

ความพิเศษของคู่มือฯ อันเป็นผลผลิตของการจัดการความรู้ในครั้งนี้ คือการนำข้อเสนอแนะจากการจัดการความรู้ครั้งก่อน มาพัฒนาให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น คือนอกเหนือจากการนำเสนอเทคนิควิธีการในการนำเที่ยวที่มัคคุเทศก์ควรทราบแล้ว ยังได้คัดสรรเนื้อหาที่ควรใช้สำหรับการบรรยายแก่นักท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูลหลายๆ เล่มให้รวมอยู่ในคู่มือเทคนิคการนำชมเส้นทางสังคมพหุวัฒนธรรมในนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยานี้ฉบับนี้

คณะกรรมการจัดการความรู้ของสถาบันอยุธยาศึกษา มีความมุ่งหวังว่า คู่มือเทคนิคการนำชมเส้นทางสังคมพหุวัฒนธรรม ในนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์กับบุคลากรสถาบันอยุธยาศึกษาในการปฏิบัติราชการ ตลอดจนสามารถบูรณาการกับการเรียนการสอนของนักศึกษาและอาจารย์ รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจทั่วไป

การจัดการความรู้ (KM) ประจำปี ๒๕๖๒ ของสถาบันอยุธยาศึกษา
เรื่อง คู่มือนำชมโบราณสถานในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

...

คู่มือนำชมโบราณสถานในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาเล่มนี้ เกิดขึ้นจากประสบการณ์การทำงานด้านการนำชมโบราณสถานภายในมหาวิทยาลัยของบุคลากรในสถาบันอยุธยาศึกษาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้เกิดองค์ความรู้ และประสบการณ์ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษาข้อมูลในการนำชมโบราณสถาน ลำดับเส้นทางท่องเที่ยวที่เหมาะสม การใช้ระยะเวลาในการนำเที่ยวแต่ละที่ การเลือกสรรเนื้อหาในการบรรยาย และการพาชมจุดต่างๆ ในโบราณสถานแต่ละแห่ง เป็นต้น ความรู้ที่อยู่ในบุคลากรของสถาบันฯ เหล่านี้ ได้นำมาสู่กระบวนการจัดการความรู้ และถูกถ่ายทอดออกมาเป็นคู่มือการนำเที่ยวฉบับนี้

ผู้ใช้งานคู่มือนำเที่ยวฉบับนี้ สามารถศึกษาและปฏิบัติตามความแนะนำต่างๆ โดยสามารถปรับประยุกต์ ให้เข้ากับบริบท และข้อจำกัดต่างๆ ในการนำเที่ยวของผู้ใช้งานเอง สถาบันอยุธยาศึกษามุ่งหวังว่าคู่มือฉบับนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งาน เข้าใจกลวิธีต่างๆ ในการนำชม ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเที่ยวแหล่งโบราณสถานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้เป็นอย่างดี