การนำเสนอผลงาน

การนำเสนอผลงาน

การประชุมทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งนี้ มีหัวข้อหลักการประชุมคือ “พหุวัฒนธรรมไร้พรมแดน : ส่งเสริมสู่ระดับชาติ สร้างสรรค์สู่ระดับโลก” (Multicultural Beyond Frontier Promoted to the National Level Created to a World-Class Scale) และมีหัวข้อย่อยสำหรับการนำเสนอผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และผลงานสร้างสรรค์ จำนวน 4 หัวข้อ ได้แก่


1.มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ครอบคลุมหัวข้อ ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ปรัชญาและศาสนา ภูมิศาสตร์ การพัฒนาชุมชนและสังคม ภาษา วรรณกรรม การสื่อสาร ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม การพัฒนาท้องถิ่น นิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ อิสลามศึกษา


2.การศึกษา การจัดการ การท่องเที่ยว และนวัตกรรมสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม

ครอบคลุมหัวข้อด้าน การศึกษา การจัดการทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม นวัตกรรมการศึกษา คหกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจสร้างสรรค์ นวัตกรรมสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม


3.ศิลปะ ดนตรี และศิลปะการแสดง

ครอบคลุมหัวข้อด้านนิยาม ทฤษฎี หลักการ แนวคิด และการวิจัยด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ไทยและตะวันตก


4.ผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรม

ผู้ที่คัดเลือกผลงาน เข้ามานำเสนอในครั้งนี้ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Peer Review) ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศซึ่งมีคุณวุฒิหรือความเชี่ยวชาญตามสาขาวิชาการนั้น ๆ