ร่วมเป็นวิทยากรโครงการส่งเสริมความรู้ประวัติศาสตร์ไทย ๔ ภูมิภาค


  • ร่วมเป็นวิทยากรโครงการส่งเสริมความรู้ประวัติศาสตร์ไทย ๔ ภูมิภาค

    ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้รับเกียรติจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เชิญร่วมเป็นวิทยากรโครงการส่งเสริมความรู้ประวัติศาสตร์ไทย ๔ ภูมิภาค เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ นำโดย อาจารย์ ดร.สุรินทร์ ศรีสังข์งาม ผู้อำนวยการ พร้อมด้วย นายพัฑร์ แตงพันธ์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ และนายปัทพงษ์ แตงพันธ์ นักวิชาการศึกษา และอาจารย์จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่วมเป็นวิทยากร ประกอบด้วย อาจารย์ศุภสุตา ปรีเปรมใจ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ อาจารย์ ดร.เอนก รักเงิน สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม และอาจารย์คมลักษณ์ ไชยยะ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    โดยในวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ได้รับเกียรติจาก นายกฤช เอื้อวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในนามผู้แทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) เป็นประธานในพิธีเปิด “โครงการส่งเสริมความรู้ประวัติศาสตร์ไทย ๔ ภูมิภาค โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค เป็นที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ริเริ่มจัดโครงการฝึกอบรมผู้สอนประวัติศาสตร์ไทย ๔ ภูมิภาค โดยมีครูผู้สอนประวัติศาสตร์ที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน ๗๒ คน เข้าร่วมอบรมในการวิเคราะห์ถึงความสำคัญและคุณค่าของ “ประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ”จากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในการเผยแพร่พระบรมราโชวาท และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ประชาชนได้น้อมนำมาประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์แก่การดำเนินชีวิต และสถาบันอยุธยาศึกษาได้รับเกียรติเป็นวิทยาการในการสัมมนากลุ่มระดมความคิดพร้อมสรุปการเรียนรู้ประจำวัน

    วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ร่วมเป็นวิทยากรการบรรยายกรณีศึกษาประวัติท้องถิ่น ลงพื้นที่ชุมชน 3 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนคลองตะเคียน ชุมชนนคลองสระบัว และชุมชนตลาดหัวรอ และวิทยากรในการสัมมนากลุ่มระดมความคิดเห็นพร้อมสรุปการเรียนรู้ประจำวัน

    วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ร่วมเป็นวิทยาการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นที่ได้จากการศึกษา (brainstormaing) เรื่อง การนำระเบียบวิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์มาจัดทำรายงานการศึกษาพื้นที่ประวัติศาสตร์

    โดยกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ไทยจากพื้นที่ทั่วประเทศได้รับองค์ความรู้และหลักวิชาประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องและเป็นจริง เพื่อนำกลับไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียนนักศึกษาให้มีความซาบซึ้งในประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติของชาติ

Posted by : Web Master Ayutthaya Studies

ปรับปรุง : Apr 24, 2024



แฟ้มภาพกิจกรรม