
มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม ตลอดจนด้านรัฐศาสตร์ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อนำไปใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในสังคม
หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม มีความสำคัญ ดังนี้
หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม เป็นหลักสูตร ที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ ด้านอาชญาวิทยา การบริหารงานในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนด้านรัฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง เพื่อนำไปใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาของสังคม โดยเฉพาะการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านอาชญากรรมในรูปแบบใหม่ ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นตามการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน
องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ UNESCO จัดกลุ่มการศึกษาด้าน อาชญาวิทยา (Criminology) อยู่ในกลุ่มองค์ความรู้แบบ “สหวิยาการ” (Interdisciplinary science) องค์การ UNESCO ทั้งในด้าน สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ (Social Sciences and behavioral sciences), เศรษฐศาสตร์ (Economic), การเมืองการปกครอง (Political sciences and civics), จิตวิทยา (Psychology), งานยุติธรรม (Criminal Justice) , และกฎหมาย (Law) ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์ในรูปแบบ การบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในหลายมิติ ซึ่งเป็นที่สนใจของประชาชนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น ขณะที่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีเพียงไม่กี่แหล่ง ที่มีความพร้อมในการเปิดหลักสูตรอาชญาวิทยาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในขณะที่ความต้องการบุคคลากรที่มีองค์ความรู้ด้านอาชญาวิทยามีมากขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงมีความจำเป็นต้องสร้างหลักสูตรในลักษณะ “สหวิทยาการ” เพื่อร้องรับความต้องการของบุคลากรอาชญาวิทยา กระบวนการยุติธรรมและสังคม ให้มีความทันสมัย และผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ที่หลากหลายเพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาและมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะการส่งเสริมองค์ความรู้ในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพเพื่อเพื่อประโยชน์ของสังคมต่อไป
3.1เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ผลิตบัณฑิตระดับดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในวิชาชีพต้องเคารพสิทธิมนุษยชน สำหรับ เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารจัดการในองค์การภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และองค์การภาคประชาสังคม ในทุกระดับ
3.2เพื่อผลิตบัณฑิตระดับดุษฎีบัณฑิตให้เป็นนักวิชาการที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการป้องกันและลดปัญหาสังคมและการก่ออาชญากรรม ในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่เกิดขึ้นตามวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบัน รวมทั้งการศึกษาประเด็นที่มีความสำคัญต่อกระบวนการยุติธรรมที่ตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและสังคม
3.3เพื่อผลิตบัณฑิตระดับดุษฎีบัณฑิตให้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเด็นปัญหาและเป็นผู้นำความคิด ทั้งทางปฏิบัติและทางวิชาการในการนำองค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ ด้านอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม มาปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.4เพื่อผลิตบัณฑิตระดับดุษฎีบัณฑิตให้สามารถปรับตัวและเรียนรู้ให้เข้ากับสังคมสมัยใหม่ที่มีความหลากหลาย มีภาวะผู้นำในทางวิชาการและสามารถแสดงความเห็นเชิงวิพากษ์บนฐานแนวคิดและทฤษฎี ทางรัฐศาสตร์ ด้านอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม ด้านสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.5เพื่อผลิตบัณฑิตระดับดุษฎีบัณฑิตให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งสามารถใช้เครื่องมือทางสถิติมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางรัฐศาสตร์ อาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม ได้อย่างประสบความสำเร็จ
1) รายวิชาบังคับเฉพาะสาขา (ไม่นับหน่วยกิต) | ให้เรียน | 9 | หน่วยกิต |
2) รายวิชาวิทยานิพนธ์ | ให้เรียน | 48 | หน่วยกิต |
3)รายวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ไม่น้อยกว่า | 4 | หน่วยกิต |
3.1) รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา1* | 2 | หน่วยกิต | |
3.2) รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 2* | 2 | หน่วยกิต |
1) รายวิชาบังคับ | |||
1.1) บังคับเฉพาะสาขา | ให้เรียน | 15 | หน่วยกิต |
1.2) บังคับเฉพาะสาขา (ไม่นับหน่วยกิต) | ให้เรียน | 3 | หน่วยกิต |
2) รายวิชาเลือก | ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต |
3) รายวิชาวิทยานิพนธ์ | ให้เรียน | 36 | หน่วยกิต |
4) รายวิชาเสริม (ไม่นับหน่วยกิต) | ไม่น้อยกว่า | 10 | หน่วยกิต |
4.1) ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 1* | 2 | หน่วยกิต | |
4.2) ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 2* | 2 | หน่วยกิต | |
4.3) รายวิชาขอบเขตและวิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ ** | 3 | หน่วยกิต | |
4.4) รายวิชาขอบเขตและทฤษฎีทางอาชญาวิทยา** | 3 | หน่วยกิต |
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาในหลักสูตร แบบ 1.1 (เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว) และแบบ 2.1 (เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์และมีการเรียนการสอน)ไว้ดังนี้
1. สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม และแผนการศึกษาแบบทำวิทยานิพนธ์ หรือสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตด้านสังคมศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) รับรอง
2. เป็นนักบริหารระดับสูง ในหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมและสังคม
3. มีคุณสมบัติข้ออื่น ๆ ตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
1. สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับปริญญามหาบัณฑิตจากสถาบันการศึกษา ที่สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) รับรอง
2. มีคุณสมบัติข้ออื่น ๆ ตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา