หลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม

ปรัชญา

มุ่งมั่นผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถด้านการพัฒนาท้องถิ่นพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ พัฒนาองค์ความรู้ เชิดชูศักยภาพชุมชนและสังคม

ความสำคัญ

โลกยุคปัจจุบันมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน โดยเฉพาะ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ หรือความเจริญทางวัตถุต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบทางลบที่ติดตามมา ซึ่งจะทำให้โลกประสบวิกฤติการณ์ในด้านต่างๆ อย่างรุนแรงทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม การศึกษา ศาสนา สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ซึ่งในเรื่องนี้ นักวิชาการที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่ง คือ แซมมวล ฮันติงตัน (Sammuel Huntington) ถึงกับเตือนว่า หากชาวโลกไม่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigmshift) แล้วโลกก็จะเห็นกาลวิบัติเป็นแน่แท้
      ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาในทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนไปถึงระดับโลก จะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้เป็นการเน้นการใช้กระบวนทัศน์แบบองค์รวม (Holistic Paradigm) ที่มองปัจจัยต่างๆ แบบปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือการวิเคราะห์สาเหตุปัจจัยต่างๆของสังคมตลอดจนการพัฒนาอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน ทั้งนี้ ต้องอาศัยศาสตร์ต่างๆ ของสาขา หรือเรียกว่า สหวิทยาการมาใช้วิเคราะห์การพัฒนา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้น การพัฒนาประเทศ ในทุกระดับจึงต้องอาศัยบุคลากรที่มีวิสัยทัศน์แบบองค์รวม มีความรอบรู้บริบทของการเปลี่ยนแปลง ด้านต่างๆ รวมทั้งความรู้ความเข้าใจอย่างรอบด้านในแนวทางการพัฒนาเชิงสหวิทยาการ
      ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม จึงมุ่งพัฒนาบุคคลแห่งการเรียนรู้ที่มีศักยภาพในการแสวงหาความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ตระหนักในความสำคัญการพัฒนาชุมชนและสังคม จึงที่อยู่บนฐานของความรู้และการวิจัย มีความเป็นผู้นำในการบริหารจัดการการพัฒนาโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม โดยมีเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและพอเพียงสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและการเปลี่ยนแปลงของสังคมรวมทั้งการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีจิตอาสาที่เห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าวต่อไป
      การผลิตหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม เป็นการผลิตกำลังคนในระดับสูงเพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรใน ท้องถิ่น องค์กร สังคม ทั้งภาครัฐและเอกชน เนื่องจากสถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งสถานการณ์ภายในประเทศก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากดังกล่าว ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จึงปรับปรุงเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยในปัจจุบัน เพื่อการพัฒนาบุคคลให้มีความพร้อม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒธรรรม สิ่งแวดล้อม การศึกษา ศาสนาและพัฒนาความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความรู้เกี่ยวกับบริบท/สถานการณ์โลกและสถานการณ์ภายในประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความสามารถในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในยุคของการแข่งขันปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการพัฒนาคน องค์กร ชุมชน ท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน>
      เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGS) คือ 1. ด้านสังคมความเป็นอยู่ของผู้คน 2. ด้านเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง 3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. ด้านสันติภาพ 5. ด้านหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ด้วยเหตุนี้ หลักสูตรการจัดการลัพัฒนาทรัพยากรจึงเป็นหลักสูตรจึงมุ่งผลิตมหาบัณฑิตโดยยึดเป้าหมายดังกล่าว อีกทั้งมุ่งที่จะฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี และทุนทางปัญญา ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้วิทยาการสมัยใหม่ต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาสังคมไทยไปสู่ Thailand 4.0
        โดยภาพรวม หลักสูตรการพัฒนาชุมชนและสังคม เน้นการจัดการศึกษาในรูปแบบ Disruptive Teacher ที่ส่งเสริมให้มหาบัณฑิตสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยวิธีวิทยาการวิจัย มีคุณธรรม จริยธรรมและมีวิสัยทัศน์ในการคิดสร้างสรรค์ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และงานอิสระในระดับสูงทุกประเภทและให้มีความพร้อมด้านมาตรฐานความรู้ ประสบการณ์ในสาขาอาชีพ เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปทำหน้าที่ในการพัฒนาองค์กร ชุมชน ท้องถิ่นสังคม ประเทศชาติให้มีคุณภาพก้าวสู่มาตรฐานสากลโดยประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (ปี พ.ศ. 2565-2569) โดยมีเป้าหมายก็คือการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคม มาร่วมใช้แก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติโดยรวมต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. สามารถนำหลักการ และทฤษฎีทางด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม ไปใช้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น
  2. สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านการจัดการเพื่อการพัฒนาที่เกิดจากการปฏิบัติจริงหรือการวิจัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพขององค์การทั้งภาครัฐและเอกชน อันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น
  3. มีภาวะผู้นำการพัฒนาและสมรรถนะการจัดการสมัยใหม่ ที่มีศักยภาพในการนำทฤษฎีและการวิจัย ไปสู่การปฏิบัติในการพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
  4. มีจรรยาบรรณ และยึดมั่นศรัทธาในธรรมาภิบาลในการจัดการองค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาได้
  5. สามารถวิเคราะห์ปัญหาสังคมไทยในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ หรือและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา เหล่านี้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพและถูกหลักวิชาการ
    หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม เป็นหลักสูตรใหม่ และมีการวางแผน เพื่อให้สอดคล้องและทันสมัยกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

โครงสร้างหลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม

หลักสูตร

  1. จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร จำนวน 36 หน่วยกิต

    แผน ก แบบ ก1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ จำนวน 36 หน่วยกิต ประกอบด้วย
    - รายวิชาวิทยานิพนธ์ ให้เรียน 24หน่วยกิต
    - รายวิชาเสริม ให้เรียน (ไม่นับหน่วยกิต) 6หน่วยกิต
    - รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา* ให้เรียน 3หน่วยกิต
    - รายวิชาทฤษฎีทางสังคมศาสตร์กับการพัฒนาชุมชนและสังคม** ให้เรียน (ไม่นับหน่วยกิต) 3หน่วยกิต
    แผน ก แบบ ก2 ทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชาในหลักสูตร
    - รายวิชาบังคับ ให้เรียน 24หน่วยกิต
    - รายวิชาบังคับ (ไม่นับ นก.) ให้เรียน 1หน่วยกิต
    - รายวิชาวิทยานิพนธ์ ให้เรียน 12หน่วยกิต
    - รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา* ให้เรียน 3หน่วยกิต
    - รายวิชาทฤษฎีทางสังคมศาสตร์กับการพัฒนาชุมชนและสังคม ** ให้เรียน 3หน่วยกิต
    แผน ข เน้นการศึกษารายวิชาและทำการค้นคว้าอิสระ
    - รายวิชาบังคับ ให้เรียน 24หน่วยกิต
    - รายวิชาบังคับ (ไม่นับ นก.) ให้เรียน 1หน่วยกิต
    - รายวิชาเลือก ให้เรียน 6หน่วยกิต
    - รายวิชาการค้นคว้าอิสระ ให้เรียน 6หน่วยกิต
    - รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา* ให้เรียน 3หน่วยกิต
    - รายวิชาทฤษฎีทางสังคมศาสตร์กับการพัฒนาชุมชนและสังคม ** ให้เรียน 3หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ผู้บริหารในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
  2. เจ้าหน้าที่นโยบายและแผน/เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล
  3. ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน/ผู้ประกอบการสังคม
  4. นักพัฒนาในองค์กรภาครัฐและเอกชน
  5. เจ้าหน้าที่และนักวิชาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  6. นักวิชาการ
  7. อาจารย์มหาวิทยาลัย