THE FACULTY OF EDUCATION

หลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ

ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตครูการศึกษาพิเศษ ที่สามารถบูรณาการความรู้ทางการศึกษาพิเศษ ทักษะการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มีวินัย ใฝ่รู้ อุตสาหะ มีจิตอาสา พัฒนาท้องถิ่น

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาพิเศษที่มีลักษณะ ดังนี้

  1. เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเนื้อหาการศึกษาพิเศษ สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางการศึกษาพิเศษในการปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศ
  2. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ จัดการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
  3. เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความรับผิดชอบสูงต่อวิชาการและวิชาชีพ มีความอดทนใจกว้า งพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพครูอย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพครู
  4. เป็นผู้ที่มีความสามารถบูรณาการความรู้เพื่อพัฒนางานการศึกษาพิเศษในท้องถิ่น
  5. เป็นผู้ที่มีความสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมมาปฏิบัติงานหน้าที่ครูได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 142 หน่วยกิต ประกอบด้วย

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

    1.1 วิชาบังคับเรียนให้เรียน3หน่วยกิต
    1.2 วิชาเลือกเรียนไม่น้อยกว่า27หน่วยกิต
    (เลือกเรียนรายวิชาในแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้ อย่างน้อยกลุ่มละ 3 หน่วยกิต โดยให้มีจำนวนรวมทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต)
    - กลุ่มวิชาภาษาไม่น้อยกว่า3หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ไม่น้อยกว่า3หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ไม่น้อยกว่า3หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า3 หน่วยกิต

  2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 106 หน่วยกิต

    2.1 กลุ่มวิชาชีพครูให้เรียน43หน่วยกิต
    - วิชาชีพครูให้เรียน31หน่วยกิต
    - การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาให้เรียน12หน่วยกิต
    2.2 กลุ่มวิชาเอกไม่น้อยกว่า63หน่วยกิต
    - วิชาบังคับเรียนให้เรียน41หน่วยกิต
    - วิชาเลือกเรียนไม่น้อยกว่า22หน่วยกิต

  3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

    ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว หรือเทียบโอนผลการเรียนตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ว่าด้วยการโอนผลการเรียนและการยกเว้นผลการเรียนรายวิชา

หมายเหตุ
         1. นักศึกษาต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษอย่างน้อย 12 หน่วยกิต จึงจะถือว่าเรียนครบหลักสูตร (นับรวมจำนวนหน่วยกิตวิชาภาษาอังกฤษที่สามารถเทียบโอนได้)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 มีความถนัดทางวิชาชีพครู มีบุคลิกภาพจิตใจที่เหมาะสมกับวิชาชีพครูและมีคุณวุฒิอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  2. ผ่านการคัดเลือกตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2560 (ภาคผนวก จ)
  3. การคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษาในกรณีรับตรงให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของคณะครุศาสตร์ด้วยวิธีการสอบข้อเขียน การสอบทักษะปฏิบัติ และ/หรือการสอบสัมภาษณ์ การสอบวัดแววความเป็นครู รวมทั้งพิจารณาผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และคะแนนสอบโดยระบบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ครูผู้สอนทางการศึกษาพิเศษในทุกสังกัด
  2. นักวิชาการทางด้านการศึกษาพิเศษ
  3. เจ้าหน้าที่ในองค์ที่บริการทางการศึกษาพิเศษ
  4. นักกระตุ้นพัฒนาการ