THE FACULTY OF EDUCATION

หลักสูตรสาขาวิชาการสอนภาษาไทย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาการสอนภาษาไทย

ปรัชญาของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรที่ยึดหลักการผลิตครูที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านภาษาไทย และเอกลักษณ์ไทย มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพ มีความสามารถทางด้านการสอนภาษาไทยมีความผูกพันต่อท้องถิ่น สามารถบูรณาการวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการสอนภาษาไทยได้อย่างเหมาะสม มีคุณลักษณะความเป็นครูที่สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาและสามารถค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาไทยที่มีลักษณะ ดังนี้

  1. มีความรอบรู้ทางด้านการสอนภาษาไทย และวิชาชีพครูทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติที่เพียงพอสำหรับการปฏิบัติการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  2. เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา และข้อโต้แย้งโดยการใช้แนวคิดทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สาขาวิชาการสอนภาษาไทย แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการแสวงหาทางเลือกใหม่ที่เหมาะสมและปฏิบัติได้
  3. มีทักษะการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างสร้างสรรค์
  4. เป็นผู้มีความสามารถในการพิจารณาแสวงหา และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาทางวิชาการ วิชาชีพและสังคมอย่างมีเหตุผลที่สมเหตุสมผล โดยการบูรณาการศาสตร์สาขาวิชาการสอนภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
  5. มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี และสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อ การสื่อสารและแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสม
  6. มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพครู
  7. มีจิตสำนึกในการพัฒนาตนเอง สังคมและท้องถิ่น รวมทั้งมีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาการสอนภาษาไทย

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 142 หน่วยกิต ประกอบด้วย

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

    1.1 วิชาบังคับเรียนให้เรียน3หน่วยกิต
    1.2 วิชาเลือกเรียนไม่น้อยกว่า27หน่วยกิต
    (เลือกเรียนรายวิชาในแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้ อย่างน้อยกลุ่มละ 3 หน่วยกิต โดยให้มีจำนวนรวมทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต)
    - กลุ่มวิชาภาษาไม่น้อยกว่า3หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ไม่น้อยกว่า3หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ไม่น้อยกว่า3หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า3 หน่วยกิต

  2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 106 หน่วยกิต

    2.1 กลุ่มวิชาชีพครูให้เรียน43หน่วยกิต
    - วิชาชีพครูให้เรียน31หน่วยกิต
    - การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาให้เรียน12หน่วยกิต
    2.2 กลุ่มวิชาเอกไม่น้อยกว่า63หน่วยกิต
    - วิชาบังคับเรียนให้เรียน42หน่วยกิต
    - วิชาเลือกเรียนไม่น้อยกว่า21หน่วยกิต

  3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

    ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว หรือเทียบโอนผลการเรียนตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ว่าด้วยการโอนผลการเรียนและการยกเว้นผลการเรียนรายวิชา

หมายเหตุ
         1. นักศึกษาต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษอย่างน้อย 12 หน่วยกิต จึงจะถือว่าเรียนครบหลักสูตร (นับรวมจำนวนหน่วยกิตวิชาภาษาอังกฤษที่สามารถเทียบโอนได้)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า มีความถนัดทางวิชาชีพครู มีบุคลิกภาพและจิตใจที่เหมาะสมกับวิชาชีพครู และมีคุณวุฒิอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  2. ต้องผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2560 (ภาคผนวก จ)
  3. การคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษาในกรณีรับตรง ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของคณะครุศาสตร์ด้วยวิธีการสอบข้อเขียน การสอบทักษะปฏิบัติ และ/หรือการสอบสัมภาษณ์ การสอบวัดแววความเป็นครู รวมทั้งพิจารณาจากผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และคะแนนสอบโดยระบบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ครูสอนภาษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน
  2. ครูสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
  3. นักวิชาการหรือบุคลากรด้านการศึกษา
  4. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
  5. ผู้ประกอบอาชีพอิสระด้านการศึกษา