THE FACULTY OF EDUCATION

หลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา

ปรัชญาของหลักสูตร

ครูพลศึกษา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง มีความรู้ สมรรถนะด้านมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน และด้านมาตรฐานการปฏิบัติตน เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่เป็นผู้นำทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษา ผู้นำการออกกำลังกาย ผู้นำนันทนาการ ผู้ฝึกสอนและผู้ตัดสินกีฬา โดยผ่านกลยุทธ์การสอนและการประเมินผลการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถปรับตัวและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วทันความก้าวหน้าทางวิชาการ มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพของตนเองอย่างมั่นคง และนำพาการศึกษาด้านพลศึกษาไปสู่ความสำเร็จได้

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาพลศึกษาที่มีลักษณะ ดังนี้

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีค่านิยมที่ดีต่อวิชาชีพทางพลศึกษา ยึดมั่นในความมีน้ำใจนักกีฬา มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู มีภาวะผู้นำจิตสาธารณะ มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ เป็นแบบอย่างที่ดี เข้าใจผู้อื่น สังคมของประเทศและของโลก
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ หลักการ ทฤษฎีและเข้าใจความก้าวหน้าของวิทยาการทางพลศึกษา การใช้การวิจัยในการแก้ปัญหาและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับบริบทนั้นๆ และเข้าใจกฎระเบียบข้อบังคับที่เปลี่ยนไป
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ทางวิชาชีพพลศึกษา โดยประยุกต์แนวคิด หลักการ ทฤษฎี ทักษะกระบวนการต่างๆ และประสบการณ์ภาคปฏิบัติในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และมีสมรรถนะในการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานประจำได้อย่างเหมาะสม
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถมีส่วนช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ปัญหากลุ่ม มีภาวะความเป็นผู้นำ ผู้ตาม คิดริเริ่มในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและกลุ่ม รับผิดชอบ เรียนรู้ พัฒนาตนและอาชีพอย่างต่อเนื่อง
  5. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ตัวเลข ความสามารถในการใช้คณิตศาสตร์และสถิติทั่วไป และเพื่อการวิจัยทางพลศึกษาในชั้นเรียน สามารถในการสื่อสาร การพูด การเขียนและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานทางการจัดการเรียนรู้ทางพลศึกษาได้อย่างเหมาะสม
  6. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญในทักษะวิชาชีพ และสมรรถนะตามมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพครูชั้นสูงอย่างบูรณาการ

โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 139 หน่วยกิต ประกอบด้วย

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

    1.1 วิชาบังคับเรียนให้เรียน3หน่วยกิต
    1.2 วิชาเลือกเรียนไม่น้อยกว่า27หน่วยกิต
    (เลือกเรียนรายวิชาในแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้ อย่างน้อยกลุ่มละ 3 หน่วยกิต โดยให้มีจำนวนรวมทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต)
    - กลุ่มวิชาภาษาไม่น้อยกว่า3หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ไม่น้อยกว่า3หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ไม่น้อยกว่า3หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า3 หน่วยกิต

  2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 103 หน่วยกิต

    2.1 กลุ่มวิชาชีพครูให้เรียน43หน่วยกิต
    - วิชาชีพครูให้เรียน31หน่วยกิต
    - การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาให้เรียน12หน่วยกิต
    2.2 กลุ่มวิชาเอกไม่น้อยกว่า60หน่วยกิต
    - วิชาบังคับเรียนให้เรียน40หน่วยกิต
    - วิชาเลือกเรียนไม่น้อยกว่า20หน่วยกิต

  3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

    ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว หรือเทียบโอนผลการเรียนตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ว่าด้วยการโอนผลการเรียนและการยกเว้นผลการเรียนรายวิชา

หมายเหตุ
         1. นักศึกษาต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษอย่างน้อย 12 หน่วยกิต จึงจะถือว่าเรียนครบหลักสูตร (นับรวมจำนวนหน่วยกิตวิชาภาษาอังกฤษที่สามารถเทียบโอนได้)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า มีความถนัดทางวิชาชีพครูมีบุคลิกภาพและจิตใจที่เหมาะสมกับวิชาชีพครูและมีคุณวุฒิอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  2. ผ่านการคัดเลือกตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2560 (ภาคผนวก จ.)
  3. การคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษาในกรณีรับตรงให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของคณะครุศาสตร์ด้วยวิธีการสอบข้อเขียน การสอบทักษะปฏิบัติ และ/หรือการสอบสัมภาษณ์ การสอบวัดแววความเป็นครู รวมทั้งพิจารณาผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และคะแนนสอบโดยระบบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ข้าราชครูและครูเอกชนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน
  2. พนักงานกรมพลศึกษา การกีฬาแห่งประเทศไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  3. นักกีฬาอาชีพ และผู้ฝึกสอนกีฬาในสังกัดสมาคมกีฬาต่างๆ
  4. ธุรกิจกีฬา อาทิเช่น ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ และเครื่องกีฬา
  5. อาชีพอิสระ อาทิเช่น ผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา ผู้นำการออกกำลังกายและผู้นำนันทนาการ