THE FACULTY OF EDUCATION

หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์

ปรัชญาของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตครูวิทยาศาสตร์ที่สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความรอบรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านวิชาชีพครู มีความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ มีทักษะสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตวิทยาศาสตร์ มีสมรรถนะและความปรีชาสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ตามมาตรฐานครูวิทยาศาสตร์ มีสติปัญญาและอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และสามารถเผชิญปัญหาหรือวิกฤติได้ด้วยสติปัญญา มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติ กระบวนการคิด การจัดประสบการณ์จริงและการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการปลูกฝังและเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมจากสถานศึกษาในชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีลักษณะ ดังนี้

  1. เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และวิชาชีพครูทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศ
  2. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และการพัฒนาหลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์ที่จะส่งผลให้ครู มีความรู้ความสามารถ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการศึกษาของชาติ
  3. เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในด้านวิทยาศาสตร์และวิชาชีพครู มีความรับผิดชอบสูงต่อวิชาการและวิชาชีพ มีความอดทน ใจกว้าง และมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์อย่างมีคุณภาพ และเป็นไปตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพครู
  4. มีความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ มีทักษะการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีจิตวิทยาศาสตร์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา สามารถประยุกต์ความเข้าใจอันถ่องแท้ในทฤษฎีและระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่สำหรับการประกอบวิชาชีพหรือการศึกษาในระดับสูงขึ้นในอนาคต
  5. มีศักยภาพที่จะพัฒนางานในหน้าที่ และเส้นทางวิชาชีพให้มีความก้าวหน้าเป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานหน้าที่ครูได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 142 หน่วยกิต ประกอบด้วย

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

    1.1 วิชาบังคับเรียนให้เรียน3หน่วยกิต
    1.2 วิชาเลือกเรียนไม่น้อยกว่า27หน่วยกิต
    (เลือกเรียนรายวิชาในแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้ อย่างน้อยกลุ่มละ 3 หน่วยกิต โดยให้มีจำนวนรวมทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต)
    - กลุ่มวิชาภาษาไม่น้อยกว่า3หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ไม่น้อยกว่า3หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ไม่น้อยกว่า3หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า3 หน่วยกิต

  2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 106 หน่วยกิต

    2.1 กลุ่มวิชาชีพครูให้เรียน43หน่วยกิต
    - วิชาชีพครูให้เรียน31หน่วยกิต
    - การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาให้เรียน12หน่วยกิต
    2.2 กลุ่มวิชาเอกไม่น้อยกว่า63หน่วยกิต
    - วิชาบังคับเรียนให้เรียน42หน่วยกิต
    - วิชาเลือกเรียนไม่น้อยกว่า21หน่วยกิต

  3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

    ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว หรือเทียบโอนผลการเรียนตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ว่าด้วยการโอนผลการเรียนและการยกเว้นผลการเรียนรายวิชา

หมายเหตุ
         1. นักศึกษาต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษอย่างน้อย 12 หน่วยกิต จึงจะถือว่าเรียนครบหลักสูตร (นับรวมจำนวนหน่วยกิตวิชาภาษาอังกฤษที่สามารถเทียบโอนได้)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ทางด้านวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ จากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 มีความถนัดทางวิชาชีพครูและทางวิทยาศาสตร์ มีบุคลิกภาพจิตใจที่เหมาะสมกับวิชาชีพครูและมีคุณวุฒิอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  2. ผ่านการคัดเลือกตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2560 (ภาคผนวก จ)
  3. การคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษาในกรณีรับตรงให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของคณะ ครุศาสตร์ด้วยวิธีการสอบข้อเขียน การสอบทักษะปฏิบัติ และ/หรือการสอบสัมภาษณ์ การสอบวัดแววความเป็นครู รวมทั้งพิจารณาผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และคะแนนสอบโดยระบบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ทั้งในสถานศึกษาของรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. นักวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์หรือการสอนวิทยาศาสตร์ในหน่วยของรัฐและศูนย์วิทยาศาสตร์
  3. ผู้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาหรือการสอนวิทยาศาสตร์ หรือบุคลากรฝ่ายฝึกอบรมในสถานศึกษาหรือสถานประกอบการทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
  4. เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
  5. อาชีพอิสระด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาหรือการสอนวิทยาศาสตร์